วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2554


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว




ความหมายทักษะการสังเกต


หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ


1 สังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป


2 ควบคูกับการวัดเพื่อทราบปริมาณ


3 เพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง




ความหมายทักษะการจำแนกประเภท


หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทส่งของโดยหาเกณฑ์


1 ความเหมือน


2 ความแตกต่าง


3 ความสัมพันธ์ร่วม




ความหมายทักษะการวัด


หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ


1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด


2 การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด


3 วิธีการที่เราจะเลือกวัด




ความหมายทักษะการสื่อความหมาย


การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน


1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ


2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้


3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จากการกระทำ


4 จัดการกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ




ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล


การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีข้อมูลอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์


1 ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ


2 ลงข้อสรุปความสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ


3 ลงข้อสรุปการสังเกตเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง




ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา


การรู้จักเรียนรู้มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 3มิติแทนรูป 3มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงา ที่เกิดจากภาพ 3 มิติ หารเห็นและการเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย


1 ชี้บ่งภาพ 2 มิติและ3มิติ


2 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ


3 บอกตำแหน่งทิศทางของวัตถุ


4 บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจาการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา




ความหมายทักษะการคำนวณ


ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะ ต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก


1 การนับจำนวนของวัตถุ


2 การบวก ลบ คูณ หาร


3 การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดหรือหรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2554




กิจกรรมวิทยาศาสตร์



1 น้ำนมมหัศจรรย์


2 เทียนไขล่องหน


3 วัตถุใดซับน้ำได้เร็วกว่ากัน


4 ลูกเกดเต้นระบำ


5 ไข่จมไข่ลอย


6 ลูกโป่งแม่เหล็ก


-วัสดุมีอะไรบ้าง


-ขั้นตอนการทำ


-ผลที่ได้รับ


ในการทำการทดลอง



1 ตั้งสมมุติฐาน


2 การใช้คำถามของครู


3 ทดลองโดยการลงมือปฎิบัติ เด็กได้ลงมือปฎิบัติได้ด้วยตนเอง


4 ใช้ทักษะการสังเกต รวบรวมข้อมูลและบันทึก


5 สรุปจาการใช้คำถาม ถามเด็ก ซึ่งคำตอบของเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปและสรุปผลข้อมูล(มีการนำเสนอ)

ครั้งที่ 3

วันอังคารที่12 กรกฎาคม 2554




รายงานของแต่ละกลุ่ม



-ทฤษฎีการวางเงือ่นไข คือ มีการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมอย่างถาวร การเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง



-ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ คำอธิบายที่มีแบบแผน เกิดจากการทดลอง ปฎิบัติ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แนวคิดนักการศึกษาวิทยาศาสตร์
1 วิทยาศาสตร์ เป็นวิถีทางอย่างหนึ่งของการเข้าไปสำรวจโลก
2 บูเบ้ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ของโลกธรรมชาติ ซึ่งได้มาโดยการปะทะกับประสาทสัมผัส กระบวนการที่ขาดไม่ได้คือการสังเกต
3 จอห์นดิวอี้ มีความเห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้อง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการศึกษาแบบเก่าหรือแบบจารีตหรือแบบอนุรักษ์กับการศึกษาแบบใหม่หรือแบบก้าวหน้าเพียงเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
-การสังเกต-การกระทำ-การทดลอง
วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปรากฎกราณ์ทางธรรมชาติ ความรู้ที่อยู่รอบตัว



นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์




เรื่อง ไข่จม ไข่ลอย


วัสดุอุปกรณ์


1ไข่ไก่


2 แก้วน้ำ


3 น้ำเปล่า


4 เกลือ


5 ไม้สำหรับคน














วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2554

การทำกิจกรรม
1 ขั้นนำ
2 ขั้นสอน
3 ขั้นสรุป
ความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบตัวเรา มีชีวิตและไม่มีชีวิต เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีสถานะคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป รูปร่างรูปทรง สีที่ต่างกัน
ความหมายวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก คือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว โดยเลือกสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว หรือสิ่งที่เห็นในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ
เด็ก
-มนุษย์เกิดการอยากรู้อยากเห็นอยากลอง เกิดสิ่งแปลกใหม่
-มนุษย์นำมาปฎิบัติเพื่อลงมือ
-เกิดการค้นพบ ความรู้ ความสามารถในการใช้ทักษะ
-สรุปองค์ความรู้และความสามารถ
-การค้นหาและสืบเสาะเพิ่มเติม
สิ่งแวดล้อม
-วิธีการดูแล ป้องกันสิ่งแวดล้อม วิธีการในการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสม
สิ่งต่างๆในโลก
-คุณลักษณะ
-จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
-จะนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้อย่างไร
-เราจะรักษาดูแลสิ่งต่างๆในโลกนี้ได้อย่างไร